วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

ผลกระทบจากการทำลายป่าไม้

จากการที่ปริมาณป่าไม้ลดลงย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางกายภาพ และมีผลต่อปัจจัยทางชีวภาพ มีผลกระทบต่อ สภาพดิน น้ำ อากาศ สัตว์ป่า สิ่งแวดล้อมอื่นๆ เพราะทั้ง ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จะมีความสัมพันธ์กันไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ในระบบนิเวศ ก่อให้เกิดสมดุลทางธรรมชาติ การทำลายป่าจึงก่อให้เกิดผลกระทบในด้านต่างๆ ดังนี้ 


1. เกิดการชะล้างพังทลายของดิน 
ป่าที่ถูกทำลายจะทำให้ไม่มีต้นไม้ วัชพืช หญ้าปกคลุมดิน เมื่อฝนตกลงมาน้ำฝนจะกัดเซาะหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ให้ไหลไปกับกระแสน้ำ 



2. เกิดน้ำท่วมในฤดูฝน 
บริเวณป่าที่ถูกทำลายจะไม่มีต้นไม้ วัชพืช และหญ้าที่ปกคลุมหน้าดินช่วยดูดซับน้ำฝน ไว้ ทำให้น้ำไหลบ่าจากที่สูงอย่างรุนแรง และมีปริมาณมากทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ ตอนล่างอย่างฉับพลัน 



3. เกิดความแห้งแล้งในฤดูแล้ง 
การทำลายป่าไม้ ต้นน้ำลำธารทำให้ป่าไม้ถูกตัด แยกออกเป็นส่วนๆ เกิดการระเหยของน้ำจากผิว ดินสูง แต่การซึม ผ่านผิวดินต่ำ ดินดูดซับและเก็บ น้ำไว้ได้น้อย ส่งผลให้น้ำไหลลงสู่ลำธารน้อยเกิด ความแห้งแล้งในฤดูแล้ง 



4. เกิดปัญหาโลกร้อนขึ้น 
เนื่องจากป่าไม้เป็นแหล่งของการหมุนเวียนสาร ระหว่างออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำและสารอื่นๆ ในระบบนิเวศที่ สำคัญ การทำลายป่ามีส่วนทำให้เกิดการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อุณหภูมิของโลกสูง 



5. คุณภาพของน้ำเสื่อมลง 
เมื่อฝนตกในบริเวณป่าไม้ที่ถูกทำลายก็จะพัดพาเอาดินโคลน ตะกอนลงสู่ แหล่งน้ำทำให้น้ำขุ่นและเกิดการตื้นเขินส่งผล ให้คุณภาพน้ำทั้งทางด้าน กายภาพ ชีวภาพ และเคมีด้อยลง ไม่สามารถใช้น้ำในการอุปโภค บริโภค ได้ 



6. พืชและสัตว์ป่ามีจำนวนและชนิดลดลง 
ป่าไม้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของ พืชและสัตว์ป่า การตัดไม้ทำลายป่าเป็น การทำลายแหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัย และความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้พืชและสัตว์ป่าหลายชนิดมีปริมาณ ลดลงจนเกือบสูญพันธ์ 




ผลกระทบจาการกระทำของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม


 มนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา ดังนั้นการกระทำของมนุษย์ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ดังนี้
            1.  มลพิษทางอากาศ  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อากาศเป็นพิษ  หมายถึง สภาพอากาศที่มีสารอื่นเจือปน
มาก ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อชีวิตคน สัตว์  พืชและสภาวะแวดล้อมอื่นๆ สารเหล่านี้ ได้แก่ เขม่า ควัน ฝุ่นละออง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งสารเหล่านี้ถ้าสะสมมากๆ จะทำให้เกิดเป็นโรคผิวหนัง มะเร็ง หรือเกิดอาการเวียนศีรษะแหล่งที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ ได้แก่ การคมนาคม การเผาขยะ การก่อสร้าง สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดฝุ่นและควันเข้าสู่อากาศที่เราหายใจเข้าไป
            2.  มลพิษทางน้ำ  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า น้ำเสีย สิ่งที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำนั้นเกิดจากการที่มีการทิ้งของเสียลงในแม่น้ำลำคลอง ทั้งที่มาจากโรงงานอุตสาหกรรม สถานบริการ การประกอบอาชีพต่างๆ หรือจากอาคารบ้านเรือน นอกจากนี้ยังมีการทิ้งขยะมูลฝอยลงในแหล่งน้ำ หรือลงในแม่น้ำลำคลอง ทำให้เกิดน้ำเสียเป็นแหล่งเพาะและแพร่เชื้อโรคทำลายสุขภาพ น้ำมีกลิ่นเหม็น สัตว์น้ำเสียชีวิต และทำลายความสวยงามและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
            3.  มลภาวะทางดิน  หมายถึง การที่ดินเกิดความเสียหายจากการกระทำของมนุษย์เองส่วนใหญ่มักจะเป็นกิจกรรมทางการเกษตร ได้แก่การใช้ยาฆ่าแมลง การใช้ปุ๋ยเคมี หรือการปลูกพืชโดยไม่มีการบำรุงรักษาดิน นอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากน้ำเสีย หรือการทิ้งฝังขยะมูลฝอย   
            4.  มลภาวะทางเสียง  เป็นลักษณะของเสียงที่ดังมากจนเกินไป ทำให้เกิดความรำคาญหรือบางทีอาจเป็นอันตรายต่อหู เสียงเหล่านี้เกิดจากยานพาหนะ เสียงเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม
                                                             

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
             ปัญหาสิ่งแวดล้อม หมายถึง สภาพของสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมซึ่งก่อให้เกิดผลทางลบกระทบต่อคนเรา ทำให้การดำเนินชีวิตของเราผิดปกติไปปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มักพบบ่อยๆ  ในท้องถิ่น คือ
            1.  น้ำเสีย  เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อยู่ใกล้ตัวเรามาก และมักพบได้ในท้องถิ่นที่เป็นชุมชนใหญ่ หรือมีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่ สภาพของน้ำเสียหมายถึง สภาพน้ำที่มีระดับออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำน้อย มีสัดส่วนของแบคทีเรียมาก บางครั้งจะมีสารพิษเจือปนอยู่ มีสภาพกลิ่นเหม็น สีดำ มีขยะลอย ไม่สามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคได้ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้น้ำเสียเกิดจากการปล่อยน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรม น้ำเสียจากครัวเรือน หรือจากการทำการเกษตร ที่ไม่ผ่านระบบกำจัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีก่อนปล่อยลงไปสู่แหล่งน้ำต่างๆ ทำให้น้ำในแหล่งน้ำต่างๆ
     
            2.  ปัญหาน้ำท่วม  เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่พบอยู่ตามท้องถิ่นที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่ม อยู่ใกล้แม่น้ำ หรืออยู่ชายฝั่งทะเลซึ่งบริเวณพื้นที่เหล่านี้มักจะมีระบบระบายน้ำไม่ดี เมื่อเวลาฝนตกหนักน้ำไหลบ่าก็จะทำให้เกิดมีน้ำท่วมขัง ซึ่งจะก่อความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินต่างๆ  ถ้าเป็นแหล่งที่มีการเกษตรกรรมจะทำให้พืชผลเสียหายในขณะที่มีน้ำท่วมขังอยู่ แต่เมื่อหลังน้ำลดแล้วมักจะเกิดโรคต่างๆ  เกิดขึ้นตามมา สาเหตุของการเกิดน้ำท่วมมักมีหลายสาเหตุ คือ การตัดไม้ทำลายป่าบริเวณต้นน้ำลำธาร ทำให้การดูดซับหรือการชะลอน้ำทำได้น้อย การสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น ถนน ขวางเส้นทางของน้ำ ถ้าในบริเวณชายฝั่งทะเลก็จะเกิดจากการหนุนของน้ำทะเล หรืออาจเกิดจากฝนที่ตกหนักจนระบายน้ำไม่ทัน
            3.  ปัญหาภัยแล้ง  เป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมักพบในท้องถิ่นที่อยู่นอกตัวเมืองหรือชนบทที่ต้องอาศัยน้ำจากฝนที่ตกลงมาอุปโภคบริโภคเป็นหลัก ไม่มีระบบน้ำประปา สภาพภัยแล้งเกิดจากความชุ่มชื้นในอากาศมีน้อยและในดินมีน้ำน้อยเนื่องจากฝนไม่ตกหรือทิ้งช่วงเป็นเวลานาน จะเป็นเหตุให้มีระดับน้ำตามแหล่งน้ำที่ผิวดินที่เป็นแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึงมีน้ำน้อย ไม่พอพียงแก่การนำมาใช้ในการอุปโภคบริโภค หรือทำการเกษตร
      

            4.  ปัญหาดินถล่ม  เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มักพบอยู่ในท้องถิ่นที่ตั้งอยู่ตามเชิงเขา ดินถล่มหรือโคลนถล่มมักเกิดขึ้นในช่วงที่มีฝนตกหนัก ที่น้ำจากภูเขาไหลบ่าพัดเอาดินเอาโคลนมากองรวมกันไว้มากๆ และเมื่อถึงระดับหนึ่งซึ่งบริเวณที่รองรับทนน้ำหนักไม่ไหว เกิดการถล่มลงมาของกองดินหรือโคลน ซึ่งถ้าในบริเวณนั้นมีการตั้งบ้านเรือนอยู่ ก็จะเกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน หรือบางครั้งเกิดจากการตัดต้นไม้บนพื้นที่ภูเขาและไหล่เขา เมื่อเกิดฝนตกหนักไม่มีต้นไม้ใหญ่ที่จะยึดดินไว้ทำให้เกิดดินถล่ม
            5. ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าและไฟป่า  เป็นปัญหาที่พบในท้องถิ่นต่างๆ ส่วนใหญ่มักจะเป็นปัญหาต่อเนื่องมาจากอดีต แต่ในปัจจุบันนี้ก็มักจะมีการลักลอบทำลายป่าไม้อยู่เนืองๆ  นอกจากนี้ไฟป่าก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พื้นที่ป่าลดลงและทำลายความสมดุลของธรรมชาติ และการตัดไม้ทำลายป่าทำให้พื้นที่ป่าไม้ลดลงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ  ตามมา เช่น ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาดินโคลนถล่ม ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาแหล่งน้ำตื้นเขิน เป็นต้น
            6.  ปัญหาขยะมูลฝอย เป็นปัญหาที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ   เนื่องมาจากการเพิ่มของจำนวนประชากร เพราะผลของการวิจัยพบว่า ประชากร 1 คน ทำให้เกิดขยะเฉลี่ย 1 กิโลกรัมต่อวัน ถ้าท้องถิ่นใดมีประชากรมากก็จะทำให้มีปริมาณขยะมาก ซึ่งในจำนวนนี้ยังไม่นับปริมาณขยะที่เกิดจากกิจกรรมอื่นๆ  เช่น การอุตสาหกรรม  การเกษตร  การกำจัดขยะ ถ้าเป็นในเมืองหรือชุมชนขนาดใหญ่จะมีเจ้าหน้าที่จัดเก็บ แต่ถ้าเป็นชุมชนขนาดเล็กหรือในชนบทมักจะมีการกำจัดขยะกันเองในครัวเรือน ขยะเป็นแหล่งรวมของเชื้อโรค มีกลิ่นเหม็น ไม่น่ามอง ซึ่งการกำจัดขยะมักจะใช้วิธีการฝังกลบ หรือการเผาเป็นส่วนใหญ่

10 แนวทางเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลกของคนไอที


อุตสาหกรรมไอทีในปัจจุบันได้ปล่อยแก๊สต้นเหตุของภาวะเรือนกระจกประมาณ 2% ของการปล่อยแก๊สทั้งหมด ซึ่งมีค่าเท่ากับอุตสาหกรรมการบิน ในขณะที่อุตสาหกรรมด้านไอทีมีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็วกว่ามาก  ต่อไปนี้คือแนวทางยอดนิยม 10 ประการ สำหรับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับโลกที่แผนกไอทีสามารถนำไปใช้งานได้
     1. การประชุมทางวิดีทัศน์ (Teleconferencing) เพื่อลดจำนวนผู้คนที่จะต้องบินไปประชุมต่างประเทศ   
     2. ลดการใช้กระดาษ แม้จะยังไม่ถึงขั้นออฟฟิศไร้กระดาษ (Paperiess) แค่ให้ถึงขั้นใช้กระดาษน้อยลง (Less Paper)   
    
 3. ใช้เอกสารดิจิตอลและเครื่องมือออนไลน์ให้มากขึ้น ทดแทนการใช้กระดาษ
     4. กระชับดาต้าเซ็นเตอร์ โดยรวมไว้ในที่เดียวกัน ช่างเทคนิคไม่ต้องเดินทางระหว่างดาต้าเซ็นเตอร์ และการแบ็คอัพข้อมูลระบบจะทำได้ง่ายกว่า
     5. ใช้ระบบเวอร์ช่วลไลเซซั่น เพื่อลดจำนวนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ลง ซึ่งข้อมูลจาก Vmware บอกว่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์แบบมัลติคอร์ในปัจจุบัน 1 เครื่อง สามารถรองรับการทำเวอร์ช่วลเซิร์ฟเวอร์ได้ถึง 10 เครื่อง
     6. การทำงานจากที่บ้าน
     7. ใส่ใจกับห้องเซิร์ฟเวอร์ อย่างเช่น การวางผังเพื่อให้ระบายความร้อนได้สูงสุด
     8. การประมวลผลแบบกริดด้วยเดสก์ท้อป ในช่วงเวลาไม่มีการใช้งานหรือพักเที่ยง
     9. ปิดสวิทซ์ของอุปกรณ์ทุกชนิดเมื่อไม่มีการใช้งาน
    10. คิดอย่างบริบูรณ์ ต้องคิดให้ครอบคลุมในทุกระดับของกระบวนการ เพื่อให้การลงทุนเกิดการประหยัดและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ถูกต้องตรงจุดอย่างแท้จริง

แนวทางการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม




  • การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย  ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน  โดยดำเนินการ ดังนี้
  • แก้ไขแนวคิดและจิตสำนึกของคนให้มีความรู้ความเข้าใจว่า สิ่งแวดล้อมมีความสำคัญต่อความอยู่รอดของมนุษย์และสิ่งที่มีชีวิตซึ่งทุกคนต้องมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบ


  • เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในท้องถิ่น เช่น การบริโภคทั้งกินและใช้ ต้องใช้และกินอย่างประหยัด  เพราะปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติมีอยู่จำกัด ใช้ทรัพยากรธรรมชาติทุกอย่างให้เกิดประโยชน์มากที่สุด  และนานที่สุด     
 ฟ้าสีครามน้ำทะเลใส

  • สนับสนุนการศึกษาค้นคว้าวิจัย ให้มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับท้องถิ่น โดยให้ประหยัดแรงงาน และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น
  • ใช้มาตรการทางกฎหมาย เพื่อรักษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อมและประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ แก่ประชาชน เพื่อการรณรงค์ให้เกิดความร่วมมือในการป้องกันและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
   ความสวยงามของธรรมชาติ
  • ใช้เทคโนโลยีในการแก้ไขมลพิษสิ่งแวดล้อม เช่น บำบัด น้ำเสียจากชุมชนและจากโรงงาน
     อุตสาหกรรมให้เป็นน้ำดีก่อนทิ้งลงในแหล่งน้ำธรรมชาติ ปลูกต้นไม้และสงวนป่าเพื่อเป็น

  • แหล่งดูดซับ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นอากาศเสีย แก้ไขสภาพเสื่อมโทรมของป่า โดยการปลูกป่า อนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ที่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร
  • กำหนดเขตพื้นที่หวงห้าม ป่าสงวนให้ชัดเจน  และปฏิบัติอย่างเข้มงวด  มิให้เข้าไปทำลาย
    ทรัพยากรธรรมชาติ
  • ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เช่น จัดตั้งชมรม สมาคม เพื่อร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อย่างต่อเนื่อง









นาฬิกาจากเศษไม้

เศษไม้สั้นๆ ที่ทำอะไรไม่ได้ อย่าเพิ่งเอาไปทิ้ง เก็บแยกใส่ลังไว้ก่อน มีเวลาว่างๆ ลองเลือกอันที่มีขนาดใกล้เคียงกัน ใหญ่บ้างเล็กบ้าง ยาวประมาณ 8 – 12 นิ้ว คละกันไป ดังในรูป
รูปที่ 1-2 เศษไม้ที่ตัดทิ้งเพราะเป็นตาไม้อย่าทิ้ง นำมาใช้ประโยชน์ได้
 1. ลองจับมาวางเรียงกัน สั้น-ยาว สลับไปมา โดยเฉพาะอันที่เป็นมีตาไม้จะเน้นเป็นพิเศษ วางอย่างไรก็ได้ แต่ให้ดูว่าสมดุลย์ซ้ายขวาอย่างในรูปที่2
 2. เมื่อเห็นว่าเข้าท่าดีแล้ว ก็ลองหมุนกลับ จับตั้งบ้าง นอนบ้าง หรือตั้งทะแยง จนพอใจ ก็ให้ทากาวระหว่างอันต่ออันให้ติดกัน แล้วทิ้งไว้ให้กาวแห้ง
 
รูปที่ 3- 4 ด้านหลังใช้ไม้คาดด้านหลัง 2 อัน ด้านหน้าทำกรอบติดนาฬิกา

 3. พลิกกลับแผงไม้ที่กาวแห้งแล้ว ใช้ไม้ยาวประมาณ 12 นิ้ว มาวางขวางด้านหลัง 2 อัน ให้ห่างกันพอประมาณ ไม่จำเป็นต้องวัดระยะ ทากาวตลอดแนวไม้แล้วทาบลง ก่อนจะตอกตะปูยึดกับแผงไม้เฉพาะไม้ที่อันใหญ่กว่า 1/2 นิ้ว
 4. นำตัวเครื่องนาฬิกามาวัดขนาด แล้ววัดไม้ระแนงขนาด 1/2 นิ้ว ทำเป็นกรอบสี่เหลี่ยมให้พอดี แล้วทดลองวางทาบ ตรงกลางแผงไม้ ดังตัวอย่างในรูปที่ 5

รูปที่ 5 ติดนาฬิกา พร้อมตัวเลข ในรูปแบบตั้งทะแยง และนอน
 5. ตำแหน่งบอกเวลา จะใช้กระดุมสีเม็ดโตๆ หรือตัวเลขสีสดขนาดใหญ่ก็ได้ ติดให้มองเห็นชัดๆ ในระยะไกล หรือจะซื้อแป้นวงกลมที่พิมพ์ตัวเลขเรียบร้อย มาปิดทับบนตัวเครื่องก็ จะทำให้ดูดีมีราคาขึ้น

รูปที่ 6 แบ่งเป็นสี่ส่วน ใช้สีย้อมไม้สีก้านเหลือง ทาสลับล่างซ้าย-บนขวา
 6. ถ้าต้องการเพิ่มสีสรรให้กับเนื้อไม้ แนะนำให้ใช้สีย้อมไม้สีก้านเหลือง (wood stain-amber) ทาบางๆ โดยยกแปรงตรงรอบต่อให้สีกลืนกับเนื้อไม้ แล้วทาซ้ำจากปลายไม้เข้ามา หลายๆ ครั้ง สีส่วนปลายก็จะเข้มมาก สีตรงกลางก็จะจางกว่า
 7. พอสีแห้งให้ใช้กระดาษทรายละเอียดขัดเบาๆ ตามแนวไม้ สีตรงขอบไม้ที่สูงกว่าก็จะถูกลบออกบางส่วน และขัดลบคราบตรงรอยต่อให้กลืนกัน พื้นที่ทั้งสี่ส่วนจะรับกับตัวเลขพอดี

หวังว่าคงถูกใจเพื่อนๆ นะครับ… 

วิธีทำสมุดทำมือ (แบบรีไซเคิล)สวยไฮโซ



Photobucket
สำหรับสมุดทำมือ
วิธีทำเอามาจาก...หนังสือของแม่ ชื่อว่า "การอนุรักษ์หนังสือ"
แล้วมันเกี่ยวกันยังไง? ก็นำวิธีการเย็บ กับการเข้าปกของเค้ามาน่ะสิ
แต่พอทำจริงๆแล้ว...เย็บมั่วเป็นบ้าเลย
ลองมาดูกันนะคะว่าเป็นยังไง
อุปกรณ์
Photobucket
  • เข็ม
  • ด้าย
  • กระดาษสมุดที่ไม่ใช้แล้ว(ของดิชั้นมีเยอะมากเค่อะ!)
  • กระดาษลัง
  • ตัวหนีบ(เอามาหนีบไม่ให้กระดาษเลื่อน)
  • คัตเตอร์
  • กาว
  • กรรไกร
(แถมกระดาษสีที่ชอบ แล้วก็ดินสอ+ยางลบด้วยนะคะ)
วิธีทำ
1. ตัดกระดาษให้ได้ขนาดที่ต้องการ (อันนี้เพราะว่ากระดาษลังมันมีพื้นที่จำกัดอ่ะค่ะ...)
Photobucket
2. กระดาษสมุดมันจะเป็นคู่ ให้เราเอามาซ้อนกันเป็นชุดๆนะ ของดิชั้นชุดละ 10 คู่
Photobucket
3. พอซ้อนกันเสร็จแล้ว ก็เอามาจุดไว้(ทุกชุดเลยนะ) ตามนี้ ซึ่งตรงนี้จะเป็นจุดที่เราต้องใช้เข็มเจาะเพื่อจะได้เย็บง่ายๆ ทีนี้ก็เริ้มเย็บเลย
เริ่มจากแทงเข็มเข้าไปในจุด A ออกมาจุด B เข้าไปจุด C ออกมาจุด D เข้าไปจุด E ออกมาจุด F1 แล้วเข้าไปในจุด F2
Photobucket
ก็ทำให้ครบทุกชุดนะคะ มันก็จะ....ประมาณนี้
Photobucket
5. ทีนี้มาทำปก ให้ขนาดของปกส่วนที่ 1 และ 3 มากกว่าขนาดของเนื้อในนิดนึง แล้วขนาดของ 2 เท่ากับความหนาของเนื้อในและปก
Photobucket
6. ตัดแยกออกจากกันแล้วก็เอามาวัดบนกระดาษสี
Photobucket 
วางให้มันห่างกันด้วยนะคะ จะได้มีบานพับเวลาเปิดสมุด
7. ตัดมุมที่กระดาษสีให้เป็นอย่างในรูป เพราะจะได้พับอย่างสวยงาม แล้วก็ทากาวให้ทั่ว เสร็จแล้วก็เอากระดาษลังมาวาง ดึงให้มาพับแบบนี้ รูด ปรื๊ดส์ๆ ให้มันติดกัน....
Photobucket
8. ใกล้เสร็จแล้ว!! เอาตัวเนื้อในมา ทากาวที่แผ่นแรกและแผ่นสุดท้าย แล้วก็ตรงสันด้วย แล้วก็เอามาติดกันทั้งหน้าและหลัง ระวังอย่าให้ย่นนะจ๊ะ...
Photobucket
9. รอให้กาวแห้งแล้วก็ตกแต่งให้เริ่ด...ฮุ ฮุ... เสร็จแล้ว...
Photobucket
 โอววว เสร็จซักที ทีนี้ก็มีสมุดเริ่ดๆไว้เฉิดฉายแล้ว แถมเป็นการรีไซเคิลด้วย เพราะกระดาษสมุดนี่ ก็ดึงมาจากสมุดที่มีเหลือเยอะมากพอสมควร กระดาษลัง...ก็มาจากลังหลังบ้านที่ตั้งไว้เฉยๆ รอการชั่งกิโลขาย ทีนี้ ก็ภูมิใจ แถมสบายกระเป๋าและลดโลกร้อนด้วย...อิอิ

ธนาคารขยะโรงเรียนบ้านดอนกลาง

     โรงเรียนบ้านดอนกลาง  ได้จัดโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยมีกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ  การปลูกต้นไม้  การจัดสวนหย่อม การปรับปรุงแหล่งน้ำ การคัดแยกคัดแยกขยะ  โดยมีการนำขยะบางส่วนทำปุ๋ยหมัก  และมีการนำขยะที่คัดแยกสู่การจำหน่าย  ทำให้นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียนและนำรายได้จากการขายขยะสู่การออมโดยการซื้อหุ้นสหกรณ์ร้านค้าของโรงเรียนและฝากเงินกับโรงเรียนธนาคารบ้านดอนกลางที่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์สาขาอำเภอกุยบุรี    ทำให้นักเรียนรู้จักการออม  และการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง  เป็นส่วนหนึ่งของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ "เน้นประโยชน์จากการเรียนรู้ในปัจจุบันเป็นที่ตั้ง"


นำขยะที่รวบรวมขึ้นรถเพื่อส่งขายร้านรับซื้อของเก่า

ช่วยกันทั้งชายและหญิง

มีทั้งกระดาษ พลาสติก และโลหะ

ถึงร้านทำการชั่งและคิดราคาขาย

ดูการคัดแยกขยะที่ถูกต้องและราคาที่แท้จริง

คุณครูดูแลและให้คำแนะนำ

คิดเงินและรับคำแนะนำจากเจ้าของร้าน

เงินบริสุทธิ์จากน้ำพักน้ำแรงสุขใจจัง